2020-08-11
คลินิก เอส เอ็ม อี
(SMEs Clinic)

โดย อาจารย์ธนากร  พฤกษ์รัตนนภา 
ผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

COVID-19 กับการเรียนรู้เรื่องความเสี่ยง

การระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้นึกถึงการเรียนรู้บทหนึ่งในเรื่องการลงทุนและการดำเนิน
ธุรกิจ วันนี้ผู้เขียนจึงขอนำความรู้ที่เกี่ยวกับความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจและการถงหุนของ
ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี มาเล่าสู่กันฟัง

    1. ความเสี่ยงที่เป็นระบบ (Systematic Risk) คือความเสี่ยงที่เกิดจากสภาพการณ์ภายนอก ซึ่งไม่อาจหลีกเยงหรือป้องกันได้ เมื่อเกิตขึ้นแล้วจะส่ผลกระทบในต้านลบต่อกิจการมากน้อยต่งกันไป เช่น ภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกในช่วงวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง แฮมเมอร์เกอร์ และที่เห็นในขณะนี้ คือ โรคระบาดจกไวรัสโควิด19 ที่ส่งผลกระทบชัดเจนและรุนแรงที่สุดทั้งในประเทศและทั่วโลก
   2. ความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ (Unsystematic Risk) ความเสี่ยงประเภทนี้เป็นความเสี่ยงที่เกิดจกการบริหารจัดการภายในองค์กร สามารถป้องกันได้ หรือบรรเทาความรุนแรงลง เช่น การวางแผนบริหารการก่อหนี้ หรืออัตราส่วนหนี้ต่อทุนที่ต่ำ เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจถตตอย รายไต้ลตลง ก็ไม่ต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยมากนัก ธุรกิจยังอยู่รอตและบริหารจัดการต่อไปได้ การทำประกันความเสี่ยงเรื่องคำเงิน สำหรับธุรกิจนำเข้า-ส่งออก เป็นต้น

   จากสถานการณ์ COVID-19 ย่อมส่งผลกระทบต่อเอสเอ็มอีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เรากำลังต่อสู้และรู้สึกตระหนกถึงผลที่ได้รับจากโรคระบาดนี้ คำถามคือ แล้วเราจะทำอย่างไรต่อไปหลังจากนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่า COVID-19 สร้างผลเสียหายรุนแรงในระดับมหภาคแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อนใหลายทศวรรษที่ผ่านมา และมันจะเปลี่ยนแปลงความป็นอยู่ของสังคมและการดำเนินธุรกิจไปอย่างที่คาดไม่ถึง

ㆍด้านเศรษฐกิจ จากสถานการณ์ที่ไม่สามารถคาดหมายว่าจะยืดเยื้อนานเท่าใด เศรษฐกิจจะอยู่ในภาวะถดถอยอย่างรุนแรงทั่วโลก GDP จะติดลบ ตามการคาดการณ์ของสถาบันชั้นนำต่าง ๆ เกิดภาวะการว่างงานรุนแรง
ㆍด้านการเงิน สภาพคล่องจะหดหาย เนื่องจากภาวะการว่างงานและเงินฝืด คนไม่มีกำลังซื้อ กิจการต่างๆอยู่ในภาวะยากลำบาก และคงมีบางส่วนต้องล้มหายตายจากไป การเข้าถึงแหล่งทุนจะยากลำบากมากขึ้น
ㆍด้านการตลาด การตลาดออนไลน์จะเพิ่มบทบาทเป็นทวีคูณ จากผลของ COVID-19 ไปอีกระยะหนึ่ง เพราะความไม่วางใจของสังคมต่อโรคว่าจะหยุดระบาดในระยะเวลาสั้น ๆ
ㆍด้านแรงงาน ระบบการจัดการด้านการผลิตและโรงานจะเปลี่ยนแปลงไป โดยถูกเร่งให้นำเครื่องจักรและไอทีมาทำงานแทนคนอย่างมีนัยสำคัญ (Technology Transformation) เพื่อป้องกันหรือลดความเlยงจกบทเรียนในครั้งนี้
ㆍ ด้านเทคโนโลยี ระบบออนไลน์และเครื่องมือดิจิตอลจะมีบทบาทต่อสังคมและหน่วยธุรกิจทุกระดับในอัตราที่รวดเร็วยิ่งขึ้น เห็นได้จากการใช้ชีวิตของสังคมผ่านออนไลน์ เกือบ 100 % ตลอดเวลาที่กักตนเองภายใต้ภาวะ COVID-19 
   เราคงต้องยอมรับว่า สถานการณ์ครั้งนี้ ได้เปลี่ยนแปลงการดำรงชีวิตของสังคมไปหลายสิ่ง และที่สำคัญภายหลังจากนี้ ภาวะเศรษฐกิจที่เป็นตัวขับเคลื่อนประเทศและทุกหน่วยธุรกิจ มีแนวโน้มไปในทางลบแล้ว ธุรกิจ เอสเอ็มอี จะปรับตัวอย่างไร
ㆍ ปรับตัวลดขนาดธุรกิจ ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นให้เหลือน้อยที่สุด
ㆍมุ่งเน้นผลิตภัณฑ์ที่สามารถทำกำไรเป็นหลัก ที่ไม่ใช่ต้องตัดทิ้งไป
ㆍทำการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น
ㆍรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้ คัดสรรลูกค้าและลูกหนี้ที่ดี
ㆍปรับเปลี่ยนธุรกิจให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น สินค้าที่ไม่จำเป็นเปลี่ยนเป็นธุรกิจจำเป็น เช่น อาหาร ด้านสุขภาพ สาธารณสุข ฯ
ㆍหาโอกาสสร้างธุรกิจใหม่ที่ค้นพบภายหลังวิกฤตการณ์ครั้งนี้

   สรุป หน่วยธุรกิจ (เอสเอ็มอี) คงต้องประสบกับความยากลำบากไปอีกระยะหนึ่งจนกว่าเศรษฐกิจโดยรวมของโลกและภายในประเทศจะกระเต้องและฟื้นตัวขึ้น โดยที่รัฐบาลทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยเราเองก็ได้พยายามช่วยเหลือด้วยการออกมาตรการหลายอย่าง มีการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบมหาศาลหลังจากนี้ ดังนั้น เราจึงต้องพยายามประคองธุรกิจให้อยู่รอดได้จนถึงตอนนั้น โดยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
ออกทั้งหมด (Lean) รวมถึงการประหยัดมัธยัสถ์ส่วนตัว เพื่อรอเวลาที่จะกลับมาใหม่อีกครั้ง แสวงหาโอกาสในธุกิจใหม่ภายใต้วิกฤติครั้งนี้ และขอให้ทุกก่นผ่านพันพายุไปได้ด้วยดี ขอทิ้งท้าย
ด้วยสุภาษิตฝรั่งนี้ เพื่อเป็นกำลังใจแต่ทุกท่านว่า

"After a storm comes a calm"

(Matthew Henry)

บทความนี้ได้ตีพิมพ์ในวารสารข่าวมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ HATYAI4U ปีที่ 21 ฉบับที่ 57 ประจำปีการศึกษา 2562 คอลัมน์ คลินิก เอส เอ็ม อี (SMEs Clinic) หน้า 4


Copyright © ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ 125/502 ถ.พลพิชัย ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
Email: hu-bic@hotmail.com | โทรศัพท์ 074-424487 , 074-200300 ต่อ 200 โทรสาร 074-424383